เมื่อปลายปี 2557 รัฐบาลชุดใหม่ได้ประกาศทิศทางนโยบายการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน รวมทั้งนโยบายการค้าและการลงทุนช่วงอีก 5 – 10 ปี ในระหว่างการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 มีรายละเอียดดังนี้
จีนกำลังจะก้าวขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกภายใน 1 – 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ จีนยังได้แซงหน้าสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุดในโลกเมื่อปี 2556 (มูลค่าการส่งออกสูงถึง 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1.๙5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 2552 มูลค่าการส่งออกจากจีนคิดเป็นร้อยละ 12 ของมูลค่าการส่งออกทั่วโลก และคาดว่าจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำเข้าอันดับ 1 ในอนาคตอันใกล้
โดยภาคบริการเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน ซึ่งมีมูลค่าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.6 ของมูลค่ารวมของ GDP โดยในปี 2555 ได้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าจากร้อยละ 20.7 ในปี 2521 การเปิดเสรีภาคบริการจึงเป็นเนื้อหาหลักของการปฏิรูปเปิดประเทศในขั้นตอนต่อไปของจีน
จากบทบาททางเศรษฐกิจของมณฑลทางภาคตะวันตกที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลมาจากค่าแรงในภาคตะวันออกที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2546 - 2547 ทำให้มีการย้ายศูนย์กลางการผลิตเพื่อการส่งออกจากมณฑลชายฝั่งตะวันออกไปภาคกลางและภาคตะวันตกของจีน ตัวเลขอัตราการเติบโตของปริมาณการนำเข้าและส่งออกของมณฑลในภาคตะวันตกที่สูงกว่าภาคตะวันออกอย่างชัดเจน ทั้งนี้ คาดว่าการปรับตัวสูงขึ้นของค่าแรงจีน และการแข็งตัวของเงินหยวนจะทำให้อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่ใช้แรงงานหนาแน่น (labor-intensive industry) ย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปยังประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศสมาชิกอาเซียนภายในอีก 7 ปีข้างหน้า
โดยคาดว่ารัฐบาลจีนจะเริ่มผ่อนคลายกฎระเบียบการลงทุนในภาคบริการมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น การบริการดูแลเด็กและคนชรา การออกแบบสถาปัตยกรรม การทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี การขนส่ง และการค้าออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบันจีนได้ทดลองเปิดเสรีภาคบริการแล้วในเขตทดลองการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Pilot Free Trade Zone) และคาดว่าจะจัดตั้งเขตทดลองการค้าเสรีในลักษณะเดียวกันในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไปในอนาคต
ซึ่งได้รับบทเรียนจากวิกฤตการเงินในเอเชีย เมื่อปี 2540 อีกทั้งจีนยังได้ดุลการค้าและได้ดุลบัญชีทุนกับประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ส่งผลให้จีนเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองมากที่สุดในโลก หลายฝ่ายเริ่มวิตกกังวลว่าปริมาณเงินทุนสำรองฯ ของจีนมีมากเกินไปและให้ผลตอบแทนต่ำ เนื่องจากส่วนมากอยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ รัฐบาลจีนชุดใหม่จึงหันมาส่งเสริมให้วิสาหกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทเอกชนออกไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น โดยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนเงินหยวนเป็นเงินตราต่างประเทศด้วยเงินทุนสำรองฯ ของรัฐ
รองลงมาคือการจัดทำเขตการค้าเสรีระดับพหุภาคีขนาดเล็กในภูมิภาค และการจัดทำเขตการค้าเสรีระดับพหุภาคีขนาดใหญ่ (TPP และ RCEP) ตามลำดับ
โดยที่ปัจจุบันฐานการผลิตสินค้าของจีนได้ย้ายเข้าไปสู่มณฑลในภาคกลาง และภาคตะวันตกซึ่งมีชายแดนติดกับหลายประเทศ อาทิ ทางตอนใต้ติดลาว เวียดนาม และเมียนมาร์ รัฐบาลชุดใหม่ของจีนจึงมุ่งเน้นพัฒนาและเปิดเสรีบริเวณพื้นที่ชายแดน และสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
บรรยากาศงานเสวนา คลิก
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก : กองเอเชียตะวันออก 3 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ